วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552

Linux ไทยประดิษฐ์ [PE : Playboy Edition ] # ตอนที่ 2

ตอนที่ 2 Review

Linux ไทยประดิษฐ์ [PE : Playboy Edition ]


1.รูปโฉมของ PB

PB: Playboy Edition เป็น Ubuntu 9.04 ที่สร้างโดยวิธี Ubuntu from Scratch

หน้าตา หรือส่วนประกอบ ทั้งหมดเรียกได้ว่าเปลี่ยนยกเครื่อง ซึ่งลีนุกซ์ตัวอื่นที่ใช้วิธีเดียวกันนี้

เช่น Linux Mint, Crunchbang Linux ที่มีรูปลักษณ์หรือเอกลักษณ์ที่ดูแตกต่าง มีจุดขายที่แต่ละเจ้าตั้งใจจะให้เป็นจุดเด่น

1.1 Default Desktop

default_desktop

1.2 Default Theme/GTK+ Engine

ส่วนประกอบที่ทำให้มีความสวยงามนั้นคือ "ธีม" (Theme) ซึ่งประกอบไปด้วย

1.2.1 GTK+ Engine เป็นตัวกำหนดรูปโฉมวิดเจ็ต เช่น การเรนเดอร์ปุ่ม ต่างๆ

1.2.2 กรอบหน้าต่าง เป็นตัววาดรูปโฉมขอบหน้าต่าง และส่วนควบคุมหน้าต่าง

1.2.3 ไอคอน คือรูปแสดงประเภทไฟล์ต่างๆ ไอคอนที่มีธีมแตกต่างกัน ย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่าง

1.2.4 อื่นๆ เช่น ตัวอักษรที่ใช้ หรือ ภาพพื้นหลัง (backgrounds) เป็นต้น

สำหรับ PB นั้นคัดสรรการเลือกธีมปริยายอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้เกิดความสวยงามน่าประทับใจตั้งแต่แรกพบ

ใช้ Default GTK+ Engine เป็น Murrine ธีม Macchiato กรอบหน้าต่างแบบ Dark Room และไอคอนเซ็ท Elementary 2.0

*พิเศษใน PB - ได้ compile Aurora Engine ซึ่งเป็นวิตเจ็ตเอนจิ้นที่มีความสวยงาม ซึ่งใช้ใน Linux Mint

และ Nodoka Engine ซึ่งใช้ใน Fedora เพื่อที่เมื่อผู้ใช้ติดตั้งธีมอื่นที่พึ่งพิง Engine เหล่านี้นั้น จะแสดงผลได้อย่างถูกต้อง สวยงามดั่งใจหมาย

gtk/theme

GTK+ Theme จะเป็นตัวกำหนดสีและลักษณะแสดงผล เช่น บนเมนู สีพาแนล เป็นต้น

widget/icons

ตัวอย่างการแสดงผล ไอคอน สีเมนู ที่เป็นค่าปริยายที่มากับ PB

widgets

theme

ภาพพื้นหลังที่มาพร้อมกับ PB

backgrounds

เปลี่ยนภาพพื้นหลัง

change-bg

2. การกำหนดค่าปริยายภาษาไทย ให้กับ PB

PB มาพร้อมกับการสนับสนุนภาษาไทย และแพกเกจที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทยทุกตัวโดยไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม

*สำหรับคนที่ถนัดเมนูภาษาอังกฤษมากกว่า ก็สามารถเปลี่ยนภายหลังได้ครับ

thai

นอกนั้น ยังกำหนดสิ่งดังต่อไปนี้ ซึ่งไม่ได้มีหรือกำหนดเป็นค่าปริยายของ Ubuntu

2.1 แสดงธงชาติภาษา

th/en

2.2 ตัวสลับภาษาแบบ Grave ซึ่งให้ผู้ใช้ที่ถนัดการสับภาษาไทยโดยวิธีนั้น

โดยติดตั้งจากโค้ดต้นฉบับที่ได้รับการปรับปรุงของ Mr.Choke แห่ง Open TLE

แต่ค่าปริยายเริ่มต้นในการสับภาษาคือ Alt+Shift

3. ภาพรวมโปรแกรมที่มากับ PB

PB มาพร้อมด้วยโปรแกรมจำนวนมาก ในขณะที่ทั้งหมดนี้ถูกบรรจุเพียงแค่ 1 CD

โปรแกรมด้านกราฟิกส์

Comix อ่านการ์ตูน หรือดูภาพในฟอร์แมตต่างๆ และรองรับไฟล์ที่สร้างเป็น .zip .rar

GIMP โปรแกรมตกแต่งภาพ

Gtkam อิมพอร์ตและจัดการภาพจากกล้องถ่ายรูปของคุณ

Ksnapshot โปรแกรมจับภาพหน้าจอ มีความสามารถมากกว่า gnome-screenshot ของ Ubuntu

Mirage โปรแกรมดูภาพ ที่มีความสามารถ ปรับขนาด ตัด หรือแก้ไขค่าสีของรูปภาพ และเซฟในรูปแบบอื่นได้

โปรแกรม Mirage ดีกว่า eog ที่มากับ Ubuntu ในขณะที่ขนาดเล็กกว่า

mirage

โปรแกรมด้านการศึกษา

Blinken - ฝึกช่วยความจำ ด้วยไฟสลับสี

blinken

เกม

PB มาพร้อมกับเกมส์มากมาย ที่คัดสรรมาแล้ว เพื่อให้สมกับชื่อ Playboy

Bastet - เทตริสที่เรากล้าท้าให้คุณเล่น ว่าคุณจะแน่สักแค่ไหน :P

bastet

Briquolo - เกมส์สไตล์ Break Out ที่มีกราฟิกแบบ 3D

briquolo

Ceferino - เมื่อเอเลี่ยนตัวกลมเขียวรุกราน ยิงมันให้แตกตัวซะ ฮึ่ยๆๆ

ceferino

Hex-a-Hop - ฝึกแก้ไขปัญหากับการกระโดดบนแผ่นแปดเหลี่ยม

hex-a-hop

LTris - เพื่อไม่ให้ดูใจร้ายเกินไปที่ใส่ Bastet ไว้ เลยให้ LTris ที่มีกราฟิกส์อันสวยงาม

ltris

Monkey Bubble - เกมส์แนว Frozen Bubble

monkey-bubble

PARSEC47 - เกมส์ยิงสไตล์ Arcade ที่มีกราฟิกส์ที่สวย สนุก และความมันส์ทวีขึ้นเมื่อคุณใกล้ SEC47

parsec47

Virus Killer - สุดยอดเกมส์ที่ขอแนะนำ ต้องรีวิวย่อยหน่อยซะแล้ว

อ่านแนะนำเกมส์นี้เพิ่มที่ http://www.ubuntuclub.com/node/1357

viruskiller

ทำลายไวรัสที่จะมาเขมือบไฟล์และระบบของคุณ เกมส์นี้ใช้ชื่อไฟล์จริงที่เรามีใน /home เป็นตัวประกัน 555+

ด้วยคอนเซ็ปต์นิรันดร์ที่ว่า "ไม่มีระบบปฏิบัติการใดปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์" ไวรัสอาจจะเขมือบได้ทุกเมื่อ

*แก้ปัญหาเรื่องเสียง ที่แพกเกจต้นฉบับติดระเบียบของ debian/ubuntu และใส่ backgrounds OS

อัพเดทให้เป็นปัจจุบัน เช่น Vista, Windows 7, Leopard, Ubuntu ;P

เครื่องมือระบบ

Ubuntu Tweak - ปรับแต่งระบบอย่างง่ายๆ และปรับจูนค่าที่ซ่อนไว้

ubuntu-tweak

Back in Time - โปรแกรมสำรองข้อมูลและกู้กลับ เหมือนอย่าง Time Machine

สำนักงาน

OO.Writer - โปรแกรมด้านงานเอกสาร อย่าง MS Word

OO.Calce - โปรแกรมตารางคำนวณ อย่าง Excel

Osmo - โปรแกรมจัดการปฏิทินเรื่องนัดหมาย สิ่งที่ต้องทำ

เสียงและวิดีโอ

MPlayer - มาพร้อม Skins สวยๆ ที่ควานหาและเลือกสรรมาแล้ว

mplayer

Exaile - หรือ Amarok โปรแกรมเล่นเพลงในฝั่ง Gnome

exaile

Elisa - Media Center ที่เป็น Opensource อินเทอร์เฟสในแบบ Gnome

elisa

Totem - player สำหรับคนที่ชอบความเรียบง่าย

Goobox - เล่นเพลงจากแผ่น CD และดึงเพลงเก็บไว้บนพื้นที่ฮาร์ดดิสก์

Brasero - โปรแกรมเขียนแผ่น CD (ใส่ extension ที่ใช้กับ Brasero เพิ่มแล้ว)

kdenlive - โปรแกรมตัดต่อวิดีโอแบบ Non-linear อย่าง Adobe Premirer หรือ Sony Vegas

kdenlive

gtk-recordmydesktop - โปรแกรม capture จับการเคลื่อนไหวของหน้าจอ

acidrip - DVD Riper ดึงหนังจากแผ่น DVD เก็บไว้บนพื้นที่ฮาร์ดดิสก์

ManDVD - โปรแกรมสร้าง chapter, slide show และตัด แต่งวิดีโอ Home DVD

ManDVD

DeVeDe - โปรแกรมสร้าง VCD/DVD จากไฟล์วิดีโอ

devede

adour2 - โปรแกรมแก้ไขไฟล์เสียง อย่าง Sony Sound Forge

adour2

winff - แปลงไฟล์วิดีโอไปยังฟอร์แมตต่างๆ

winff

อำนวยความสะดวก - ประกอบด้วยโปรแกรมอรรถประโยชน์ต่างๆ ได้แก่

Light Scribe Labeler โปรแกรมเขียนลาเบล บนแผ่น Light Scribe ที่มักมีในเครื่องโน๊ตบุ๊ค HP (รุ่นดีๆ หน่อย)

หรือเครื่องที่ใช้ CD/DVD Writer ที่มีความสามารถนี้ โปรแกรมนี้ไม่มีใน ubuntu ครับ ที่เคยเห็นมีใน sabayon4

(sabayon4 เป็นสุดยอดของลีนุกซ์ด้านบันเทิง และสร้าง live cd แบบเทพ ไม่เชื่อโหลดตัวเต็มมาลองดูครับ)

4L

Catfish - ค้นหาไฟล์ หาได้ทั้งเอกสาร มีเดีย และรูปภาพ หรือตามที่ต้องการค้นหา

Gshutdown - ตั้งเวลาปิด หรือ logout ออกจากเครื่อง

Xournal - โปรแกรมจดบันทึกโน๊ต ที่สามารถบันทึกบนเอกสาร PDF ได้

และโปรแกรมอื่นๆ

อินเทอร์เน็ต

Firefox - โปรแกรมท่องเว็บยอดนิยม

หน้า help > about จะแสดงรูปนี้ - น้องหมาน่ารักมั๊ยครับ :D

moezilla

Thunderbird - โปรแกรมรับส่งอีเมล

Pidgin - ไม่ขาดการติดต่อกับเพื่อนของคุณด้วย pidgin ซึ่งรองรับหลาย protocal

Deluge Bittorent - โปรแกรมรับส่งไฟล์แบบ P2P

Multiget - โปรแกรมช่วย download ไฟล์

ปรับแต่งพื้นโต๊ะ

appearances

System Profiler and Benmark

เป็นโปรแกรมดูข้อมูล Hardware ของเครื่อง ซึ่งคล้ายโปรแกรม Everest ใน Windows

*เหมาะสำหรับใส่ไว้ใน live CD เพื่อนำไปทดสอบกับเครื่องอื่น ว่า มี Hardware อะไรบ้าง

hardinfo

ดูแลระบบ

admins

Remastersys - เครื่องมือทำ Live DVD/CD Backup

remastersys

Partimage - โปรแกรมโคลนฮาร์ดดิสก์ เหมือน Norton Ghost

screentest - ทดสอบ dead pixel และการแสดงสีขอจอภาพ

คงจะมีคำถามใช่ไหมครับ ว่าทำไมถึงใส่โปรแกรมได้มากขนาดนั้น แล้วอย่างนี้จะไปทอนประสิทธิภาพด้านอื่น?

ตอบ: นอกจากการตัดโปรแกรมตามที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่แล้ว (มีคอนเซ็ปต์ในการตัดโปรแกรมออกชัดเจน)

การคัดเลือกโปรแกรมอย่างดี โดยพิจารณาถึงขนาดแพกเกจ และโปรแกรมอื่นที่พึ่งพิง รวมถึงการมองรอบด้าน

ทำให้ผลลัพทธ์ที่ได้คือ จำนวนซอฟท์แวร์ที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ใช้เนื้อที่เพิ่มขึ้นไม่มาก

4. ทดสอบการบู๊ต รัน live และการติดตั้ง

usplash

ภาพ usplash ขณะที่รันระหว่างบู๊ต

เครื่องที่ใช้ในการทดสอบ

HP TX1215NR - AMD Turion 64 X2 - TL56 (1.80 Ghz)

Ram 2 Gb DDR2 667Mhz - HDD 160 GB (5400RPM)

Sound HDA Intel, Broadcom 4311 (restricted) Wireless

การบู๊ต

ใช้สื่อ 2 ชนิดในการบู๊ต

1.USB บู๊ต live CD ขอย้ำนะครับว่า live CD (ซึ่งปรกติมันจะดีเทคและ initialize นานหน่อยในโหมด live)

เพียง 50 วินาที

2.CD ปรกติหากใช้ live CD ตามประสบการณ์ที่ เคยทดสอบมา อยู่ที่ 5-10 นาที หากเป็น Ubuntu

(เคยลอง Fedora โหลด live CD เกือบชั่วโมง เหอๆ อาถรรพ์จริงๆ ไม่เคยลอง Fedora สำเร็จสักเวอร์ชั่น)

แต่คราวนี้แค่เพียง 2.50 นาที ที่ CD ช้ากว่าเป็นเพราะความเร็วของหัวอ่านช้ากว่า USB

ส่วนการรันในโหมด live

Ubuntu ในเวอร์ชั่น 9.04 นี้ ทำได้น่าประทับใจที่พบขนาดหน้าจอ อย่างถูกต้องเลย ใช้หน้าจอ wide screen (WXGA) 1280x800 ใช้ Graphic Card ของ Nvidia ซึ่งก็แน่นอนที่ต้องลงไดรเวอร์ก่อนการที่ดีเทคและแสดงผลหน้าจอได้ถูกต้อง ถือว่าทำให้ ทึ่งได้ แต่เป็นเพราะไม่ใช่ไดรเวอร์การ์ดจอของ Nvidiaทำให้ไม่สามารถรันปรแกรมบางโปรแกรมในโหมด live ได้ เช่น elisa และเกมส์ PARSEC47เสียงใช้ได้ปรกติ ปุ่มคีย์ fn ใช้ได้ Wireless ใช้ไม่ได้ แต่ก็ไม่น่าแปลกใจอะไรเพราะเป็นของ roadcomมาถึงการติดตั้ง ใช้ USB ในการติดตั้งลง Harddisk หากไม่นับความเชี่ยวชาญในการลง Ubuntu โดยตอบคำถาม dialog ต่างๆ รวมถึงรอ detect harddisk และการกำหนพาร์ติชั่นซึ่งทำเสร็จทั้งหมดภายใน 3 นาที และมานับเวลาที่ติดตั้งลง harddisk จริงๆทั้งหมดก็แค่เพียง 4.50 นาที (เพิ่มจากเดิมหน่อยเพราะมีการปรับแพกเกจเยอะ) ซึ่งถือว่าน่าแปลกใจรีบูตแล้วลองเข้าระบบจับเวลาที่ข้อมูลเริ่มอ่านจากหัว harddisk มาถึงแสดงหน้า desktop โดยโหลดองค์ประกอบทั้งหมดขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 30 วินาที ไม่ช้าไม่เร็ว สำหรับการทดสอบการใช้งานคงต้องรอผู้มีจิตโหลดศรัทธาลองมาโหลดไปใช้ดู ส่งท้าย: คงจะเป็น "สิ่งที่จะลองทำ" ในช่วงไม่กี่วันก่อน released ครับ สิ่งที่จะลองทำ: ทำ Wubi ในแบบฉบับ PB ซึ่งต้อง ยากส์น่าดู :P ไม่รับปากว่าจะทำได้ หรือทำได้ทันไหมนะครับ

ขอขอบคุณงานคุณภาพของ คุณ TrendyTeddy แห่ง Ubuntuclub

PB: Playboy Edition Overview ตอนที่ 2

สำหรับคนที่สนใจ หา Dowload ได้จาก

ดาวน์โหลด

Playboy Edition 9.04

http://mirror.nytes.net:81/linux/clubuntu/pb_final.iso

md5sum

http://mirror.nytes.net:81/linux/clubuntu/pb_md5sum.txt

ผู้มี bit ศรัทธา ก็ช่วยๆ เผื่อแผ่ชาวโลกด้วยก็ดีครับ

ฟอรั่ม ของ PB

http://forum.ubuntuclub.com/forum/topic,8730.0.html

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

Linux ไทยประดิษฐ์ [PE : Playboy Edition ] # ตอนที่ 1

ตอนที่ 1 แนวคิด จุดเด่น ข้อจำกัด และความต้องการของระบบ ของ

Linux ไทยประดิษฐ์ [PE : Playboy Edition ]


แนวความคิดและที่มา 3 ประการของผู้จัดทำ

1.แนวความคิดด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ และการใช้ซอฟท์แวร์เสรี (FOSS)

ทาง Ubuntuclub.com นอกจากที่ได้เป็น Thailand Local Team อย่างเป็นทางการของ Ubuntu แล้วยังได้รับความไว้วางใจอีกหลายครั้งจากหน่วยงาน ภาครัฐ มูลนิธิ หน่วยงานเอกชนในโครงการพัฒนาบุคคลากรในด้านการเรียนรู้และพัฒนาซอฟท์แวร์เสรีอย่างต่อเนื่อง

2.หลักสูตร Ubuntu from scratch

โดยการสนับสนุนจาก SIPA และมูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ จึงให้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ"สร้าง Ubuntu ในแบบที่ต้องการ" เมื่อตุลาคม 2008 ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีและมีผู้สนใจอย่างมากในครั้งนั้น ทีม Lao Local Team ของ Ubuntu ได้มาเข้าร่วมการอบรมเช่นกัน

3.Ubuntu ฉบับปรับแต่งรุ่นพี่อย่าง Pirate Edition ของคุณสมเจตน์

ถือได้ว่าเป็นประกายเจิดจรัสที่ทำให้คนทั่วไป ผู้ใช้ธรรมดา จนถึงระดับผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์หันมาสนใจลีนุกซ์ ความสำเร็จและแบบอย่างของ PE เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้จัดทำสานต่อความฝันที่จะปรับแต่ง Ubuntu พร้อมใช้ ที่มุ่งหมายให้ใช้งานได้จริงเช่นกัน
ความเป็นมา Playboy Edition (Ubuntu 9.04 - Jaunty Jackalope)

เป็น Ubuntu ฉบับปรับแต่ง ให้เหมาะกับการใช้งานทั่วไป โดยมุ่งเน้นด้านความบันเทิงเป็นหลักรวมถึงออกแบบให้เหมาะสำหรับผู้ใช้ Ubuntu รายใหม่ หรือผู้ใช้รายเก่าก็ตามชื่อ Playboy ได้แนวความคิดมาจาก "กระต่าย" และ "ความแนว" ของผู้จัดทำซึ่งชอบความสวยงาม ซอฟท์แวร์ระดับโชว์เคสของลีนุกซ์ และการปรับแต่งถึงระบบโลโก้ ได้รับแรงบันดาลใจจาก PE เพราะเดินในแนวทางไม่ต่างกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ Ubuntu ไม่สามารถรวมเข้าไปได้เพราะติดปัญหา Policy ของ Ubuntu เองมีส่วนประกอบของซอฟท์แวร์ติดสิทธิ์แต่ไม่ผิดกฏหมายหากจะใช้PE เรียกตัวเองว่า Pirate, PB ก็คือ Pirate เช่นกัน แต่ในแบบฉบับวัตถุประสงค์ที่กล่าวไปแล้วทั้งนี้ต้นแบบแนวทางของ PB นั้นได้มาจาก

PE+Chrunchbang+Ubuntu Studio+Ultimate Edition+Sabayon4 = Plaboy Edition


จุดเด่นของ Playboy Edition

  • ขนาด 1 CD (700M) เหมาะสำหรับสื่อ CD-Rom หรือ Thumb Drive 1 GB
  • รวมซอฟท์แวร์ด้านความบันเทิงภายในบ้านไว้มากมาย ครบครันที่สุดในขนาดพื้นที่ๆ จำกัด 1CD เลือกสรรอย่างดีที่สุดแล้วสำหรับซอฟท์แวร์ระดับ "Showcase"ของทั้งฝั่ง Gnome / KDE
  • ลบซอฟท์แวร์ที่มีความสามารถเกินความจำเป็นใช้งาน หรือที่ต้องพึ่งพิงไลบรารี่จำนวนมาก ทำให้ PB มีความรวดเร็วในการทำงาน และการติดตั้ง (4.3 นาทีในเครื่องผม - จะกล่าวเรื่องนี้ในรีวิว)
  • เปลี่ยนซอฟท์แวร์บางตัวให้เป็นตัวที่มีประสิทธิภาพดีกว่า เช่น Deluge แทน Transmission Goobox แทน erpentine, Exaile แทน Rhythmbox
  • บรรจุแพกเกจที่มีประโยชน์ เช่น Ubuntu Tweak , System Informationsและแพกเกจพร้อมสำหรับงานด้านช่างคอมพิวเตอร์ ในกรณีใช้ Live CD เป็น Tester และตัวแบคอัพระบบเครื่องอื่นรวมถึงคอมไพลเลอร์พื้นฐานสำหรับการคอมไพลโปรแกรมใหม่ๆ
  • เกี่ยวกับภาษาไทย: สนับสนุนภาษาไทย ผ่าน Language Support ที่ติดตั้งโดยปริยายให้แล้วทั้งทำให้ใช้เครื่องหมาย ~ (Grave) ได้สำหรับคนที่ต้องการเปลี่ยนภาษาด้วยเครื่องหมายนั้นและให้แสดง applet เป็นรูปธงชาติไทย/อังกฤษ/สหรัฐ/ญี่ปุ่น (แล้วแต่จะเลือก)
  • บรรจุซอฟท์แวร์สำรองระบบของคุณให้เป็น Live CD เพื่อไปติดตั้งและรันโหมด Live CD ในเครื่องอื่นได้ด้วยกล่าวคือ หากคุณปรับแต่งติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่มเติม หรือลบโปรแกรมออก เมื่อสำรองระบบและสร้าง Live CD แล้วคุณจะได้ Live CD ที่มีซอฟท์แวร์ที่คุณต้องการ เพื่อไปลองไปใช้ในเครื่องอื่นๆ ได้

ข้อจำกัดของ Playboy Edition
  • ตัดเรื่อง GUI สำหรับงานด้าน Networks และ Networks Tools ระดับ admin ออกไปซึ่งไม่จำเป็นสำหรับการใช้งานทั่วไปภายในบ้าน แต่ยังใช้งานติดต่ออินเตอร์เน็ตได้ปรกติ
  • การสนับสนุน Printer ผ่าน Samba และลดไดร์เวอร์ Printer ที่ไม่ได้ใช้
  • ตัดชุด Office บางตัว เช่น Impress, Draw, Base
  • ไม่มี Wubi.exe เพราะ Wubi.exe ต้องคอมไพล์มาใช้ให้เฉพาะตัวที่ Ubuntu ทำขึ้นมาเท่านั้น หรือแม้ว่าจะ tweak ได้ แต่มาใช้กับ Ubuntu ที่ใช้วิธี scratch ไม่ได้ ยกเว้นการ hack ด้วยวิธี manual

แนวคิดในการตัดออก - ตัดออกโดยเหลือที่จำเป็นอย่างระมัดระวัง ตัดสิ่งที่คนไม่ได้ใช้บ่อย

*อย่างไร ข้อจำกัดทุกอย่างสามารถติดตั้งเพิ่มได้ ไม่กระทบระบบเดิมแต่อย่างใด


ความต้องการของระบบ
  • CPU: ระดับ Pentium ที่สัญญาณนาฬิกาตั้งแต่ 1 Ghz. เป็นต้นไปเช่น Pentium 4, Pentium M, Celeron, Celeron M ที่มีสถาปัตยกรรมต่ำกว่า 130 นาโนเมตรหรือ ระดับ Atom / N270,280 ใน netbook AMD - Athlon, Athlon XP หรือ Sempron ขึ้นไป
  • Ram: มากกว่า 384Mb แนะนำ 512Mb ขึ้นไป

ข้อ CPU ไม่น่าเป็นห่วงเท่าข้อ Ram อีกอย่าง ถ้าเครื่องรองรับแรมได้มากถึงเท่าที่กล่าวCPU กับระบบต่างๆ (เช่น FSB, Clock) มันจะสอดคล้องกันดูเป็นว่าเครื่องเราแรมมากกว่า 384Mb หรือเปล่าก็พอครับประมาณว่าเครื่อง notebook อายุ 5-6 ปี มีแรมประมาณ 768Mb ก็รันได้สบายรู้สึกว่า ผมรัน Live CD ใช้แรมที่ 196 Mb เอง (แต่ควรมากกว่านี้หากใช้งาน หรือต้องการติดตั้ง)

  • VGA Card รองรับ 3Dไม่ต้องหรูหราก็ได้ คิดว่าประมาณ Intel, Ati Rage, Nvidia Riva TNT2 รุ่นลายครามก็พอไม่ใช่ส่วนจำเป็นหรือบังคับครับ เหมือน Ubuntu นั่นแหล่ะ ไม่มีไม่เป็นไร ก็ยังใช้ได้
  • Harddisk ขนาด 3-4 Gb.แนะนำ 15-20 Gb สำหรับที่คิดจะใช้ CD/DVD writer เพราะต้องกันเนื้อที่ buffer ข้อมูลและสำหรับคนที่ใช้งานด้านโปรดักชั่น หรือขาบิต เตรียมพื้นที่เยอะๆ หน่อย มากกว่า 20Gb ครับ

ขอขอบคุณ คุณ Trendy Teddy จาก Ubuntuclub ผู้จัดทำ

PB: Playboy Edition - Overview ตอนที่ 1

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

Linux Distribution

Linux Distribution คือ การเผยแพร่ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์โดยจัดทำเป็นชุดซอฟต์แวร์ “พร้อมใช้”

ซึ่ง Linux Distribution ที่นิยมใช้งาน ๕ อันดับ ของ โลก มีดังนี้

เป็นข้อมูลสรุปในรอบ 3 เดือน ที่ผ่านมา

ข้อมูลจาก http://distrowatch.com/

อันดับที่ ๑

ubuntu

Ubuntu

ปรับปรุงล่าสุด: Monday 20 April 2009 21:20 GMT
ubuntu
Ubuntu Summary
ดิสทริบิวชัน Ubuntu
หน้าแรก http://www.ubuntu.com/
แหล่งกำเนิด Isle of Man
ข่าวสาร (Mailing List) http://lists.ubuntu.com/mailman/listinfo/
กระดานข่าว Ubuntu Forums
กระดานข่าว อื่นๆ
เอกสาร https://wiki.ubuntu.com/UserDocumentation
ภาพหน้าจอ The Coding Studio
แหล่งดาวน์โหลดอื่น http://www.ubuntu.com/download/
ที่ดาวน์โหลด อื่นๆ
รายการ บั๊ก https://bugs.launchpad.net/

===================================================

อันดับที่ ๒

suse

openSUSE

ปรับปรุงล่าสุด: Monday 20 April 2009 19:20 GMT
suse
openSUSE Summary
ดิสทริบิวชัน openSUSE (formerly SUSE Linux)
หน้าแรก http://www.opensuse.org/
แหล่งกำเนิด Germany
ข่าวสาร (Mailing List) http://en.opensuse.org/Communicate/Mailinglists
กระดานข่าว http://forums.opensuse.org/
กระดานข่าว อื่นๆ
เอกสาร http://en.opensuse.org/Documentation
SUSE Support Knowledge Base
ภาพหน้าจอ http://en.opensuse.org/Screenshots/openSUSE_11.0The Coding Studio
แหล่งดาวน์โหลดอื่น http://software.opensuse.org/
http://en.opensuse.org/Download
“http://mirrors.opensuse.org/list/all.html
ที่ดาวน์โหลด อื่นๆ
รายการ บั๊ก https://bugzilla.novell.com/

===================================================

อันดับที่ ๓

mint

Linux Mint

ปรับปรุงล่าสุด: Monday 9 February 2009 22:27 GMT
mint
Linux Mint Summary
ดิสทริบิวชัน Linux Mint
หน้าแรก http://linuxmint.com/
แหล่งกำเนิด Ireland
ข่าวสาร (Mailing List)
กระดานข่าว http://linuxmint.com/forum/
กระดานข่าว อื่นๆ
เอกสาร http://linuxmint.com/wiki/
ภาพหน้าจอ http://www.linuxmint.com/screenshots.phpThe Coding Studio
แหล่งดาวน์โหลดอื่น http://www.linuxmint.com/download.php
ที่ดาวน์โหลด อื่นๆ
รายการ บั๊ก

===================================================

อันดับที่ ๔

fedora

Fedora

ปรับปรุงล่าสุด: Wednesday 22 April 2009 07:20 GMT
fedora
Fedora Summary
ดิสทริบิวชัน Fedora Project
หน้าแรก http://fedoraproject.org/
แหล่งกำเนิด USA
ข่าวสาร (Mailing List) http://fedoraproject.org/wiki/Communicate
กระดานข่าว Fedora Forum
กระดานข่าว อื่นๆ
เอกสาร http://docs.fedoraproject.org/
http://fedoraproject.org/wiki/Docs
ภาพหน้าจอ http://fedoraproject.org/wiki/Tours/Fedora10/ScreenshotsThe Coding Studio
แหล่งดาวน์โหลดอื่น http://fedoraproject.org/get-fedora.html
http://torrent.fedoraproject.org/
http://mirrors.fedoraproject.org/publiclist
ที่ดาวน์โหลด อื่นๆ
รายการ บั๊ก https://bugzilla.redhat.com/

===================================================

อันดับที่ ๕

debian

Debian GNU/Linux

ปรับปรุงล่าสุด: Wednesday 22 April 2009 06:21 GMT
debian
Debian Summary
ดิสทริบิวชัน Debian GNU/Linux
หน้าแรก http://www.debian.org/
แหล่งกำเนิด Global
ข่าวสาร (Mailing List) http://lists.debian.org/
กระดานข่าว Debian User ForumsLinuxQuestions.orgDebianForum.de (German) • Unixboard.de (German) • Debian Srbija forumi (Serbian) • esDebian (Spanish)
กระดานข่าว อื่นๆ
เอกสาร http://www.debian.org/doc/
Debianizzati (Italian)
ภาพหน้าจอ http://screenshots.debian.net/The Coding Studio
แหล่งดาวน์โหลดอื่น http://www.debian.org/distrib/ftplist
Debian on CD
ที่ดาวน์โหลด อื่นๆ
รายการ บั๊ก http://bugs.debian.org/

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

คำสั่งยูนิกส์/ลินุกส์ Command Line เบื้องต้นที่ควรรู้

ls
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับ dirของDOS) มากจากคำว่า list
รูปแบบคำสั่ง ls [option] [file]
option ที่มักใช้กันใน ls คือ
-l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้มด้วย
-a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด
-F จะแสดง / หลัง Directory และ * หลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้
ตัวอย่างการใช้งาน ls –l ls -al ls -F


adduser
คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน adduser -g (group) -d (Directory) (User)
ตัวอย่าง adduser -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root


useradd
คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux (ใช้เหมือนกับคำสั่ง adduser)
รูบแบบการใช้งาน useradd -g (group) -d (Directory) (User)
ตัวอย่าง useradd -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root

userdel
คำสั่งลบ User ออกจากระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน userdel [option] (Username)
ตัวอย่าง userdel -r root user1 ลบ User ชื่อ Login คือ User1 และ -r คือให้ลบ Home Directoryของ User1 ด้วย


passwd
คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน passwd [Username]
ตัวอย่าง passwd user1 (กำหนดรหัสผ่านให้ User1 ถ้าไม่พิมพ์ ชื่อ User ระบบUnixจะหมายความว่าแก้ไขรหัสผ่านของคนที่Loginเข้ามา)

alias
คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่ง SETในDOSแต่สามารถใช้เปฝ้นคำสั่ง RUNได้)
รูบแบบการใช้งาน alias [ชื่อใหม่=ข้อความ]
ตัวอย่าง alias copy=cp กำหนดให้พิมพ์ copy แทนคำสั่ง cpได้

bash
คำสั่งเรียกใช้ Bourne again shellของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน bash
ตัวอย่าง bash [Enter] ( เรียกใช้ Bourne again shell)

bc
คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน bc [-lwsqv] [option] [file]
ตัวอย่าง bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก
หมายเหตุ:คำสั่งนี้จะใช้ได้ต้องInstall Packet ลงไปก่อน

cp
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสำเนาแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับcopyของDOS) มาจากคำว่า copy
รูปแบบคำสั่ง cp source target
ตัวอย่างการใช้งาน #cp test.txt /home/user1


cal
คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน cal
ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน)
cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน)

cat
คำสั่งแสดงข้อความในFileของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cat
ตัวอย่าง cat /home/user1 | more อ่านข้อมูลจากไฟล์/home/user1ถ้ายาวเกินหน้าให้หยุดทีละหน้าจอ


C Compiler
คำสั่งCompile ภาษาCของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cc [filename]
ตัวอย่าง cc /home/user1/industry.c จะสั่งให้ระบบCompile ภาษาC ไฟล์ชื่อ industry.c ที่ Directory /home/user1


cd
คำสั่งChange Directoryของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งCDของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cd [directory]
ตัวอย่าง cd /etc [Enter]ไปDirectory etc
cd ..[Enter] ย้ายไปDirectoryอีก1ชั้น

chfin
คำสั่งChange your finger informationของระบบ Unix,Linux (เป็นการกำหนดข้อมูลของUser
เช่น ชื่อเต็ม ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์)
รูบแบบการใช้งาน chfn [username]
ตัวอย่าง chfn User1 กำหนดรายละเอียดUser1


chgrp
คำสั่งChange Groupของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chgrp [-chfRv] (Group) (File)
ตัวอย่าง chgrp root /root/* เปลี่ยนGroupให้กับไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /root ให้เป็น Group root

chmod
คำสั่งChange Modeของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนสิทธิการเข้าถึงไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chmod [สิทธิ] (File)
ตัวอย่าง กำหนดสิทธิให้กับไฟล์ชื่อtest คือ chmod 754 test หรือ chmod go +r-w testให้กับไฟล์ทุกไฟล์ chmod o-r *
ตัวเลขMode rwx = 7 ; rw - =6 ; r-x =5 ; r- - = 4 ; - wx = 3 ; - w - = 2 ; - - x = 1 ; - - = 0

การกำหนดสิทธิกำหนดได้2ลักษณะคือ
1.กำหนดโดยใช้อักษรย่อกลุ่ม
2.ใช้รหัสเลขฐาน2แทนสิทธิ (1 คืออนุญาต)
กลุ่มผู้ใช้ User Group Other = ugo เช่น go-r-w+x คือกลุ่ม และคนอื่นไม่มีสิทธิอ่านเขียนแต่Runได้
สิทธิ์การใช้ -rwx rwx rwx = Read Write Execute
รหัสเลขฐาน 111 101 100 = 754 คือเจ้าของไฟล์ใช้ได้ครบ คน Group เดียวกันอ่านExecuteได้นอกนั้นอ่านได้อย่างเดียว


chown
คำสั่งChange Ownerของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chown [ซื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile)
ตัวอย่าง chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็นUser1
chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname.

chsh
คำสั่งchshของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนShell ให้ User)
รูบแบบการใช้งาน chsh [Username]
ตัวอย่าง chsh user1 [Enter] /bin/bash [Enter]


clear
คำสั่งclearของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบข้อความบนจอภาพ คล้ายกับคำสั่ง clsใน dos)
รูบแบบการใช้งาน clear
ตัวอย่าง clear [Enter]


cal
คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน cal
ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน)
cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน)

mesg
mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminal
mesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้
mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้


date
ใช้แสดง วันที่ และ เวลา
ตัวอย่าง date 17 May 2004


df
คำสั่งdf ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์)
รูบแบบการใช้งานdf [option] [file]
ตัวอย่าง df [Enter]


dmesg
คำสั่งdmesgของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงผลเหมือนตอน Boot)
รูบแบบการใช้งาน dmesg
ตัวอย่าง dmesg | more [Enter]
หมายเหตุ คำสั่งนี้ ใช้ตรวจสอบ เมื่อเกิดปัญหา เช่น Linux ไม่รู้จัก Driver CD-Rom หรือปัญหาอื่นๆ


echo
คำสั่งechoของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงข้อความ เหมือนกับ ECHOของDOS)
รูบแบบการใช้งาน echo (ข้อความที่ต้องการให้แสดงผล)
ตัวอย่าง echo my name is user1
echo Hello > /dev/tty2 ส่งข้อความ Hello ไปออกจอเทอร์มินอลที่2


ed
คำสั่ง ed ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file เหมือนกับคำสั่ง edlinของDOS)
รูบแบบการใช้งาน ed (fileName)
ตัวอย่าง ed /home/user/test (ออกกดq)
สำหรับคนที่ไม่ถนัดคำสั่งนี้แนะนำให้ใช้คำสั่ง picoหรือvi หรือemacsแทนได้เช่นกัน


emacs
คำสั่ง emacs ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file )
รูบแบบการใช้งาน emacs (fileName)
ตัวอย่าง emacs /home/user/test (help กด Ctrl - h ; ออกกด Ctrl - x Ctrl - c)


exit
คำสั่ง exit ของระบบ Unix,Linux (ออกจากระบบยูนิกส์ )
รูบแบบการใช้งาน exit
ตัวอย่าง exit


finger
คำสั่ง finger ของระบบ Unix,Linux (แสดงชื่อUserที่กำลังLoginเข้ามาแต่คำสั่ง Whoจะให้รายละเอียดดีกว่า)
รูบแบบการใช้งาน finger [username]
ตัวอย่าง finger user1 แสดงชื่อและรายละเอียด user1


fsck
คำสั่ง fsck ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่ง ตรวจสอบและซ่อมแซม Linux file system เหมือนกับ
คำสั่งScandisk ของDos)
รูบแบบการใช้งาน fsck [option]
ตัวอย่าง /sbin/fsck -a /dev/hd1


ftp
คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ )
รูบแบบการใช้งาน ftp (IP or Name of FTP Server )
ตัวอย่าง ftp 132.209.1.2 [Enter]

grep
คำสั่ง grep ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้ค้นหาตามเงื่อนไข )
รูบแบบการใช้งาน grep (option)
ตัวอย่าง grep -i ftp /etc/test ค้นหาบรรทัดที่มีคำว่า "ftp"ไม่สนใจพิมพ์เล็ก-ใหญ่ จาดไฟล์ /etc/test

groupadd
คำสั่ง groupadd ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเพิ่มรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง #groupadd staff สร้างกลุ่มของ User ชื่อ Staff เพิ่มให้ระบบ


groupdel
คำสั่ง groupdel ของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง #groupdel staff ลบกลุ่มของ User ชื่อ Staffออกจากระบบ

gzip/gunzip
คำสั่งgzip/gunzipของระบบ Unix,Linux (เป็นการบีบอัดไฟล์หรือขยายบีบอัดไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน gzipหรือgunzip (-cdfhlLnNrtv19 ) [file]
ตัวอย่าง #gzip -9vr /home/samba/* บีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ ในSub /home/samba จะเปลี่ยนเป็นนามสุกล .gz
#gunzip -dvr /home/samba/* คลายการบีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ที่สกุล .gz ในSub /home/samba

halt
คำสั่ง halt ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้เครื่องหยุดทำงาน)
รูบแบบการใช้งาน halt [-n] [-w] [-d] [-f] [-I] [-p]
ตัวอย่าง #halt
คำสั่งที่เกี่ยวข้อง คือ Shutdown ; init0 , reboot

history
คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการดูประวัติการใช้คำสั่งในCommand line คล้ายกับการกดF7ในDOSคือเรียกใช้คำสั่งDos key)
รูบแบบการใช้งานhistory [n] [-r wan [filename] ]
ตัวอย่าง #history 20 ดูคำสั่งที่เพิ่งใช้ไป20คำสั่งที่แล้ว

ifconfig
คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบกำหนดค่าNetworkของLan Card)
รูบแบบการใช้งาน ifconfig [option]
ตัวอย่าง #ifconfig

ipchains
คำสั่ง ipchains ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)
รูบแบบการใช้งาน ipchains [parameter] command [option]
ตัวอย่าง #ipchains -L ดูสถานะการ Set IPchainsในปัจจุบัน

jobs
คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)
รูบแบบการใช้งาน jobs
ตัวอย่าง #sleep 20 & jobs

kill
คำสั่ง kill ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับยกเลิก Process)
รูบแบบการใช้งาน kill [option] (process ID)
ตัวอย่าง ps -A ดูหมายเลขที่ช่อง PIDของProcess ที่ต้องการลบ
Kill -9


login
คำสั่ง login ของระบบ nnn แทนnnnด้วยหมายเลขPID -9 คือบังคับฆ่าให้ตาย
Unix,Linux (เป็นคำสั่งการเข้าระบบหรือเปลี่ยน User Login) รูบแบบการใช้งาน login [fp] (UserName)
ตัวอย่าง #login:root


mkdir
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า make directory
รูปแบบของคำสั่งmkdir mkdir [option] [file]
โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ
-m จะทำการกำหนด Permissioin (ให้ดูคำสั่ง chmod เพิ่มเติม)
-p จะทำการสร้าง Parent Directory ให้ด้วยกรณีที่ยังไม่มีการระบุ directory ในที่นี้อาจเป็น relative
หรือ absolute path ก็ได้
ตัวอย่าง
mkdir /home
mkdir -p -m755 ~/home/user1


mv
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ dos)
มาจากคำว่า move
รูปแบบคำสั่ง mv source target
ตัวอย่างmv *.tar /backup
mv test.txt old.txt
mv bin oldbin


more
คล้ายกับคำสั่ง cat ไม่เหมาะกับการดูข้อมูลที่มีความยาวมากๆ ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนา more ขึ้น
เพื่อช่วยให้สามารถดูข้อมูลที่มีขนาดยาวได้เป็นช่วงๆ
รูปแบบคำสั่ง more file
ภายในโปรแกรม more จะมีคำสั่งเพื่อใช้งานคราวๆ ดังนี้
= แสดงเลขบรรทัด
q ออกจากโปรแกรม
เลื่อนไปยังหน้าถัดไป เลื่อนไปยังบรรทัดถัดไป
h แสดง help
ตัวอย่าง more test.txt


man
คำสั่ง man ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งแสดงข้อความ อธิบายการใช้คำสั่ง)
รูบแบบการใช้งานman (Command)
ตัวอย่าง #man ls
หมายเหตุ เมื่อต้องการออก กด q ;ใช้[Spacebar] เลื่อนหน้าถัดไป ; ใช้ลูกศรขึ้นดูหน้าผ่านมา

mount
คำสั่ง mount ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ)
รูบแบบการใช้งาน mount (-t type) DeviceDriver MountPoint
ตัวอย่าง # การ Mountแบบที่1 CdRom mount -t iso9660 /dev/cdrom /mnt/cdrom
#การ Mount CdRom แบบที่2 mount /dev/cdrom (เมื่อmountแล้วCDจะอยู่ที่ /mnt/CdRom ยกเลิกดูคำสั่ง Unmount)

rmdir
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบ directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า remove directory
โครงสร้างคำสั่ง
rmdir [option] [file]
โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ -p จะทำการลบ Child และ Parent Directory ตามลำดับ
directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้ ตัวอย่าง rmdir /home


tar
เป็นคำสั่งเพื่อการ backup และ restore file ทั้งนี้การ tar จะเก็บทั้งโครง สร้าง directory และ file permission ด้วย
(เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย หรือแจกจ่ายโปรแกรมบนระบบ UNIX) มาจากคำว่า tape archive
รูปแบบคำสั่ง tar [option]... [file]...
โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ
-c ทำการสร้างใหม่ (backup)
-t แสดงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแฟ้มที่ backup ไว้
-v ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผล
-f ผลลัพธ์ของมาที่ file
-x ทำการ restore
ตัวอย่าง tar -xvf data.tar


talk
คำ สั่งที่ใช้สำหรับการพูดคุยระหว่างผู้ใช้ด้วยกันบนระบบ ซึ่งผู้ใช้ทั้งทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องพิมพ์คำสั่ง Talk ถึงกันก่อน จึงจะเริ่มการสนทนาได้
รูปแบบคำสั่ง talk user[@host] [tty]
กรณีไม่ระบุ host โปรแกรมจะถือว่าหมายถึงเครื่องปัจจุบัน (นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง ytalk ซึ่งสามารถพูดคุยได้พร้อม
กันมากกว่า 2 คน) ซึงบางกรณีเราอาจจะต้องระบุ tty ด้วยหากมีผู้ใช้ Log in เข้าสู่ระบบด้วยชื่อเดียวกันมากกว่า 1 หน้าจอ
ตัวอย่าง talk m2k@nanastreet.com

write
คำสั่งใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้น
รูปแบบคำสั่ง write user [tty]
เมื่อมีการพิมพ์คำสั่ง write ผู้ใช้จะเห็นข้อความซึ่งจะแสดงว่าข้อความดังกล่าวถูกส่งมาโดยใคร ซึ่งหากผู้รับต้องการ
ตอบกลับ ก็จะต้องใช้คำสั่ง write เช่นกัน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้พิมพ์ตัวอักษร EOF หรือ กด CTRL+C เพื่อเป็น
การ interrupt ทั้งนี้ข้อความที่พิมพ์หลังจาก write จะถูกส่งหลังจากการกด Enter เท่านั้น
ตัวอย่าง write m2k

who am i
คำสั่งใช้เพื่อแสดงว่าผู้ใช้ซึ่ง login เข้าสู่ระบบนั้น (ตัวเราเอง) login ด้วยชื่ออะไร
รูปแบบคำสั่ง/ตัวอย่าง whoami หรือ who am i (บน SUN OS หรือ UNIX บางตัวเท่านั้น)

file
คำสั่งfileบนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล แต่ใน UNIX จะไม่มี
นามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก Context ภายใน
ของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ
รูปแบบคำสั่ง file [option]... file
ตัวอย่าง file /bin/sh file report1.doc


free
แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ
โครงสร้างคำสั่ง free [-b|-k|-m]
โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ
-b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte
-k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte
-m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte
ตัวอย่าง free free –b free -k


pwd
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดง Directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับการพิมพ์ cd บน DOS) มาจากคำว่า print work directory
รูปแบบคำสั่ง / ตัวอย่าง pwd


uname
คำสั่งแสดง ชื่อและรุ่นของ OS ชื่อและรุ่นของ cpu ชื่อเครื่อง
ตัวอย่าง uname -a


hostname
คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่
ตัวอย่าง hostname

tty
แสดงหมายเลข terminal ที่ใช้งานอยู่
ตัวอย่าง tty


id
ใช้แสดงชื่อและกลุ่มมของผู้ใช้งาน
ต้วอย่าง id

Thank Credit
http://www.linuxcentrix.com/index.php/topic,11.0.html

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

Linuxtheworld

ลินุกซ์ (Linux)

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน


เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพกการ์ด และ โนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวีดีโอ


ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิม ต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft

ประวัติ


















ริชาร์ด สตอลแมน (ซ้าย) ผู้ก่อตั้ง โครงการกนู












ลินุส โตร์วัลดส์ (ขวา) ผู้ให้กำเนิด ลินุกซ์ เคอร์เนล



ผู้เริ่มพัฒนาลินุกซ์ เคอร์เนลเป็นคนแรก คือ ลินุส โตร์วัลดส์ (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ เมื่อสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ โดยแรกเริ่ม ริชาร์ด สตอลแมน (Richard Stallman) ได้ก่อตั้งโครงการกนูขึ้นในปี พ.ศ. 2526 จุดมุ่งหมายโครงการกนู คือ ต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติการคล้ายยูนิกซ์ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งระบบ ราวช่วงพ.ศ. 2533 โครงการกนูมีส่วนโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการเกือบครบทั้งหมด ได้แก่ คลังโปรแกรม (Libraries) คอมไพเลอร์ (Compiler) โปรแกรมแก้ไขข้อความ(Text Editor) และเปลือกระบบยูนิกซ์(Shell) ซึ่งขาดแต่เพียงเคอร์เนล(Kernel) เท่านั้น ในพ.ศ. 2533 โครงการกนูได้พัฒนาเคอร์เนลชื่อ Hurd เพื่อใช้ในระบบกนูซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความเร็วในการประมวลผล


ในพ.ศ. 2534 โตร์วัลดส์เริ่มโครงการพัฒนาเคอร์เนล ขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยอาศัย Minix ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับ Unix ซึ่งมากับหนังสือเรื่องการออกแบบระบบปฏิบัติการ มาเป็นเป็นต้นแบบในการเขียนขึ้นมาใหม่โดย Torvalds เขาพัฒนาโดยใช้ IA-32 assembler และภาษาซี คอมไพล์เป็นไฟล์ไบนารี่และบูทจากแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ เขาได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถบูทตัวเองได้ (กล่าวคือสามารถคอมไพล์ภายในลินุกซ์ได้เลย) และในปัจจุบันมีนักพัฒนาจากพันกว่าคนทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนา โครงการ Eric S. Raymond ได้ศีกษากระบวนการพัฒนาดังกล่าวและเขียนบทความเรื่อง The Cathedral and the Bazaar


ในรุ่น 0.01 นี้ถือว่ามีเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับระบบ POSIX ที่ใช้เรียก ลินุกซ์ ที่รันกับ กนู Bash Shell และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างรวดเร็ว

โตร์วัลดส์ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งต่อมาก็สามารถรันบน X Window System และมีการเลือกนกเพนกวินที่ชื่อ Tux ให้เป็นตัวนำโชคหรือ Mascot ของระบบลินุกซ์














Tux
นกเพนกวิน สัญลักษณ์ของลินุกซ์




อ้างอิงจาก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B9%8C


Hello World !!! (Start 18-04-2009)

Hello World !!! (Start 18-04-2009) Begin of Blog